วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติขุนขาน

อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ใน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


    สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้ทำการสำรวจและพิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติอันสวยงาม มีน้ำตก หน้าผา ถ้ำ หลายแห่งเหมาะสมให้กรมป่าไม้ทราบและพิจารณา กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 934/2536 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2536 ให้นายสุรศักดิ์ วุฒิอิ่น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ มาดำเนินการสำรวจจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติขุนขาน”

    การดำเนินการสำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้ดำเนินการสำรวจมีเนื้อที่ประมาณ 442,500 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิงและตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รายงานให้ ส่วนอุทยานแห่งชาติและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณที่สำรวจจัดตั้งทับซ้อนกับพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาร้องเรียน เกี่ยวกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภาคเหนือ 13 แห่ง จึงได้มีมติที่ประชุม “ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขานไปดำเนินการแก้ไข ปัญหาราษฎรร้องเรียนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง ทับซ้อนพื้นที่ทำกินของราษฎรก่อน”

   หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้เข้าร่วมดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร ของคณะกรรมการตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด จนถึง ปี พ.ศ.2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 เห็นชอบผลการเจรจากลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน กรณีป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ (เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1) จำนวน 19 แห่ง ซึ่งปรากฏว่าไม่มีรายชื่ออุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ในข้อเรียกร้องแล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจง แก่สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จำนวน 6 ตำบล รวมทั้งทำการเดินสำรวจกันเขตที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิก อบต. และร่วมกันกำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมปรับลดพื้นที่ให้เหมาะต่อการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในอนาคต ทำให้ขนาดของพื้นที่ลดลงเหลือเนื้อที่ประมาณ 150,000 ไร่

      ในปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไปแล้ว

ลักษณะภูมิประเทศ     พื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนขานตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 18 องศา 46 ลิปดา ถึง 19 องศา 02 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 98 องศา 23 ลิปดา ถึง 98 องศา 49 ลิปดาตะวันออก อาณาเขตทิศเหนือจด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ท้องที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้จดพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ท้องที่ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกจด เขตอำเภอแม่ริม ท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตกจด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนโดยทั่วไป มีความสูงตั้งแต่ 500-1,708 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สุงที่สุดคือ ยอดดอยปุงเกี้ย สูง 1,708 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแม่ขาน และแม่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำทั้ง 2 สาย ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
    สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติ ประกอบไปด้วยป่า 5 ชนิด คือ
ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงกับอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มเต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบตามยอดเขาโดยทั่วไปที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบทางทิศตะวันออกของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สัก เติม สมอไทย เส้า แดง ประดู่ เสี้ยว มะแฟน ซ้อ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง พบมากโดยทั่วไปบริเวณภูเขาที่ไม่สูงมากนัก พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง สนสองใบ มะกอก เส้า เสี้ยว เป็นต้น


สัตว์ป่าที่มีมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า เม่น หมาไน หมาจิ้งจอก นิ่ม ตุ่น กระรอก กระต่ายป่า บ่าง ค้างคาว อีเห็น พังพอน เป็นต้น ที่มีน้อยได้แก่ ลิง ชะนี เสือ เลียงผา นกกก เป็นต้น


อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอมาลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 3 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท
 

    พื้นที่วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกันและมีสภาพ ธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่การบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มี กฎหมายรองรับ จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญให้มีศักยภาพเพียง พอที่จะรองรับการขยายตัวของชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ

    กรม ป่าไม้จึงได้มีการสำรวจพื้นที่วนอุทยานต่างๆ ดังกล่าวรวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ข้างเคียง โดยเริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่เมื่อเดือนมกราคม 2544 และกรมป่าไม้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกมาควบคุมพื้นที่จะประกาศเป็นอุทยาน แห่งชาติลำน้ำกก เมือเดือนกรกฎาคม 2544 และในปีงบประมาณ 2545 กรมป่าไม้ได้จัดแผนงานและงบประมาณดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกรวม ทั้งอนุมัติการก่อสร้างชุดอาคารสำนักงาน ณ บริเวณที่ตั้งที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยหมากเลี่ยม ท้องที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545

    พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ประมาณ 458,110 ไร่ หรือ 732.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ตำบลป่าตึง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู ตำบลดอยฮาง ตำบลบ้านดู่ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลวาวี ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย และตำบลโป่งแพร่ ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว มีอาณาเขตทิศเหนือจดทางหลวงแผ่นดินสายแม่จัน-แม่อาย ท้องที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทิศใต้จดทางหลวงแผ่นดินสายเชียงราย-แม่สรวย และบ้านโป่งฟูเฟือง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกจดท้องที่ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลดอยฮาง และตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันตกจดตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง และตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย


    ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
    ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันสลับกับที่ราบแคบๆ บริเวณหุบเขาเป็นหย่อมเล็กๆ ตอนเหนือและตอนใต้ของพื้นที่เป็นที่สูงลาดต่ำลงมาตอนกลางจะเป็นที่ราบลุ่ม น้ำสลับกับร่องเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 500-1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล มียอดดอยช้างเป็นดอยที่สูงที่สุด ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ ดอยยาว ดอยบ่อ ดอยช้าง ดอยผามูบ เป็นต้น มีแม่น้ำกกซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือตอนบนไหลผ่านที่ราบลุ่มตอนกลาง ของพื้นที่ โดยต้นน้ำเริ่มมาจากประเทศพม่าไหลผ่านเขตประเทศไทยที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงราย จากทางทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก รวมระยะทางจากตำบลท่าตอนถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติประมาณ 85 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีลำน้ำในพื้นที่อีกหลายสายที่เกิดจากต้นน้ำในเทือกเขาต่างๆ ในพื้นที่อันได้แก่ ห้วยแม่กรณ์ ห้วยแม่มอญ ห้วยย่าดี ห้วยชมภู ห้วยส้าน ห้วยแม่ซ้าย และห้วยเลาอ้าย ซึ่งลำห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่และไหลไปรวมกับแม่น้ำลาวและน้ำแม่กก ซึ่งเป็นแม้น้ำสายสำคัญของจังหวัดเชียงราย

ลักษณะภูมิอากาศ     พื้นที่จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ในเขตมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู อย่างชัดเจน คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั่งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2534 - 2543 เฉลี่ยประมาณ 1,629 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยมีหมอกตลอดฤดูหนาว

พืชพรรณและสัตว์ป่า
    ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก สามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ป่า ดิบเขา พบที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 800 เมตร ขึ้นไป ในบริเวณยอดดอยช้าง วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อก้างด้าง ก่อพวง ก่อเดือย ก่อสีเสียด พญาไม้ ขุนไม้ มะขามป้อมดง เมื่อย จันทร์ทอง จำปีป่า เมี่ยงดอย กุหลาบขาว คำแดง ก่วมแดง โคลงเคลงขน จุกนารี กำลังช้างสาร กุหลาบหิน ข่าคม กระเจียวขาว เฟิน ฯลฯ ป่าดิบแล้ง พบได้ในระดับความสูง 300 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและริมห้วย พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง คอแลน กระเบากลัก พลับพลาข่อยหนาม กระดูกค่าง ชมพู่ป่า หวายขม เครืองูเห่า ปัดแดง กล้วยดงดำ เฟิน ผักเบี้ยดิน หญ้ากาบไผ่ ลดาวัลย์ และเถายั้งดง เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่มากที่สุด ในระดับความสูง 50 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ สัก กระพี้เขาควาย รกฟ้า ตะแบกเลือด ซ้อ สมอไทย ขะเจ๊าะ เปล้าหลวง มะกอกป่า ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่รวก กระชาย กลอย ขมิ้น ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 400 - 600 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง กราด แสลงใจ มะขามป้อม ไผ่เพ็ก โจด ฯลฯ

    สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกกมีเหลืออยู่น้อยมาก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ เก้ง หมูป่า อีเห็น เม่นหางพวง ลิ่นกระต่ายป่า กระรอกท้องแดง กระแตธรรมดา กระจ้อน หนูท้องขาว นกตะขาบทุ่ง นกกางเขนบ้าน นกกระปุดใหญ่ นกขมิ้นน้อยธรรมดา นกแซงแซวหางปลา นกปรอดสวน เหยี่ยวนกเขา นกเขาใหญ่ ตะกวด กิ้งก่าหัวสีแดง งูเขียวหางไหม้ งูสิง งูสามเหลี่ยม งูเห่า กบ เขียด คางคกบ้าน และปาด เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยาน แห่งชาติดอยหลวง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง และพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจากวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้ำตกปูแกง และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติและจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตร

     กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/3430 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2524 เสนอกรมป่าไม้ เพื่อขอยกฐานะวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และวนอุทยานน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันและอยู่ในป่าเทือกเขาดอยหลวงด้วยกันเป็นอุทยานแห่ง ชาติดอยหลวง โดยได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1578/2524 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ให้ นายธวัชชัย เสถียรกาล นักวิชาการป่า 4 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งอุทยานแห่งชาติดอยหลวงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ดล)/5 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2525 ส่งรายงานการสำรวจ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งมีสภาพป่าที่ อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรวมวนอุทยานทั้งหมด จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 

     ต่อมาจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปางได้ขอให้กรมป่าไม้จัดบริเวณวนอุทยาน น้ำตกวังแก้ว จังหวัดลำปาง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการสำรวจปรากฏว่า มีพื้นที่เป็นบริเวณติดต่ออยู่ในเทือกเขาดอยหลวง ซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกันทั้งหมดและเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1 A ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำห้วยหลายสายซึ่งไหลลงสู่กว้านพะเยา พื้นที่ที่สำรวจมีธรรมชาติและจุดเด่นที่สวยงามมากมาย เหมาะสำหรับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

     กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 เห็นชอบในหลักการที่จะให้ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวงต่อไปได้ ทั้งนี้ให้กันพื้นที่บริเวณที่ราษฎรถือครองออกเสียก่อน โดยให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12มิถุนายน 2527 คือ ให้ยึดถือภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 เป็นเกณฑ์พิจารณา

     กองอุทยานแห่งชาติ จึงได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องที่ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ลาวฝั่งขวา ป่าแม่ส้าน และป่าแม่ใจ ในท้องที่ตำบลแม่สรวย ตำบลแม่พริก ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย ตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว ตำบลสันกลาง ตำบลป่าหุ่ง ตำบลม่วงคำ ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน ตำบลสันสลี ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตำบลป่าแฝก ตำบลเจริญราษฎร์ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ป่าขุนวัง แปลงที่สอง ป่าขุนวังแปลงที่สาม ป่าขุนวังแปลงที่หนึ่ง ป่าแม่โป่ง และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ และตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง และป่าแม่ต้ำ ป่าแม่นาเรือ ในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ ตำบลท่าจำปี ตำบลบ้านต้ำ ตำบลบ้านต๋อม ตำบลบ้านสาง ตำบลบ้านตุ่น ตำบลแม่นาเรือ อำเภอพะเยา จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 16 เมษายน 2533 มีพื้นที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศ




ลักษณะภูมิประเทศ
      สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยค่อนข้างสูงขึ้นจากทางเหนือลงมาทางใต้ โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดดอยหลวง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,694 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสภาพดินเป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำวังและกว๊านพะเยา

ลักษณะภูมิอากาศ       ประกอบไปด้วยฤดูกาล 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า       ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึงไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงห์โต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา กระดุมเงิน

      สัตว์ป่าประกอบด้วย เลียงผา เก้ง กวางป่า หมูป่า หมี อีเห็น ชะมด บ่าง ชะนี ลิงกัง เสือดาว แมวดำ หมาใน กระต่ายป่า กระรอกบิน ตะกวด เต่าปูลู งูชนิดต่างๆ รวมไปถึงไก่ป่า นกเงือก นกพญาไฟพันธุ์เหนือ นกปีกลายสก็อต นกกางเขนหัวขาวท้ายแดง นกศิวะปีกสีฟ้า และนกย้ายถิ่นหายาก เช่น

      นก กินปลีหางยาวคอสีดำ และนกอื่นมากมายกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแมลงมากมายหลายชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน กว่างห้าเขา ผีเสื้อใบไม้ใหญ่ ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อถุงทอง เป็นต้น
 

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยาน แห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร





      ด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว |

      ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526

      กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองขลุงและป่าคลองแม่วงก์ในท้อง ที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปางศิลาทอง) จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์–แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เลย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ และตำบลแม่เปิน กิ่งอำเภอแม่เปิน) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ



ลักษณะภูมิประเทศ      สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธง ชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญ เช่น แร่ไมก้า

ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
     สภาพป่าทั่วไปของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ จะอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งห้วยและภูเขาที่ไม่สูงนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก เสลา ชิงชัน กระบก กระพี้เขาควาย มะค่าโมง งิ้วป่า ประดู่ป่า กาสามปีก ติ้ว ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ไผ่รวก พืชพื้นล่าง เช่น หนามเค็ด ส้มเสี้ยว หนามคนฑา เป็นต้น

      ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่สลับกับป่าเบญจพรรณ พบในช่วงระดับความสูงตั้งแต่ 100-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะเกิ้ม ประดู่ มะม่วงป่า มะค่าแต้ พะยอม มะขามป้อม สมอไทย ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่เพ็ก และปรง เป็นต้น

      ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300-1,500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อใบเลื่อม ก่อเดือย ก่อลิ้น ก่อแอบ ทะโล้ จำปาป่า กะเพราต้น หนอนขี้ควาย กำลังเสือโคร่ง ดำดง กล้วยฤาษี และมะนาวควาย เป็นต้น

      ป่าดิบแล้ง ประกอบด้วย ยางแดง ยางนา กระบาก ตะเคียนหิน ปออีเก้ง สมพง กัดลิ้น มะหาด พลอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและพืชพื้นล่างต่างๆ ที่ทนร่มอีกมากมายหลายชนิด เช่น เข็มขาว หนามคนฑา ว่าน พืชหัวต่างๆ อีกทั้งกล้วยไม้ต่างๆ อีกมากมาย

      ทุ่งหญ้า พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น

      เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีอาณาเขตติดต่อกับป่าของเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งสัตว์สามารถใช้เส้นทางเดินติดต่อกันได้ ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา กระทิง ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย หมีหมา ชะนีธรรมดา ค่างหงอก ลิงกัง อ้นเล็ก กระรอกบินเล็กแกมขาว ค้างคาวปากย่น ไก่ป่า เหยี่ยวรุ้ง นกแว่นสีเทา นกกก นกเงือกกรามช้าง นกปรอดเหลืองหัวจุก นกเขาใหญ่ นกกะเต็นอกขาว นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกแซงแซวสีเทา เต่าหก เต่าเหลือง เหี้ย ตะกวด งูเห่า งูแมวเซา ฯลฯ
 

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า



อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร

     ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควรกำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม

     กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่าบริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็น อุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507 มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

     ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ




น้ำตกเต่าดำ






น้ำตกคลองวังเจ้า




น้ำตกคลองโป่ง



ลักษณะภูมิประเทศ  
      พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบริเวณเขตเทือกเขาภาคตะวันตกกับบริเวณขอบที่ราบภาค กลาง สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบอยู่ทางตอนกลางพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างกะทะขนาดเล็ก จำนวน 2 แอ่ง พื้นที่ 2,000-5,000 ไร่ แนวเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเย็น เขาสน เขาเต่าดำ เขาขนุน เขาขาแล้ง เขาอีโละโคะ เขาวังเจ้า เขาปั๋งใหญ่ ดอยลวก และเขาวุ๊งกะสัง เป็นต้น ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,898 เมตรโดยมียอดเขาเย็นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่สูงที่สุด พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองวังเจ้า ประกอบด้วย คลองแม่ยะมา คลองวังเจ้า คลองขุนหมาก คลองแขยง และลุ่มน้ำคลองสวนหมาก ประกอบด้วย คลองไพร คลองวุ๊งกะสัง คลองพลู คลองอีหมี คลองส้มโอ คลองปั๋งใหญ่ คลองสวนหมาก คลองเต่าดำ คลองผู้ใหญ่เลา คลองนายปู คลองขาแข้ง คลองจำปา คลองตะเนาะ และคลองปางขบ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

      อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,318 มิลลิเมตรต่อปี และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลาง เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง มีอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส และช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมมรสุมทั้งสอง อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า       อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่า 5 ชนิด ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุดประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ พบกระจายตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สัก รกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ปอตูบหูช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไผ่ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ เป็นต้น เป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของ กระทิง เก้ง กวางป่า เสือปลา หมูป่า สัตว์ฟันแทะต่างๆ ไก่ป่า เป็นต้น

      ป่าดิบเขา พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ตลอดแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ทะโล้ ฯลฯ พืชพื้นล่างค่อนข้างแน่นทึบ เช่น เฟิน ปอ กระวาน อ้อ แขม หวาย เป็นต้น มีสัตว์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ในบางฤดู เช่น กระทิง และยังมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระรอกบินจิ๋วท้องขาว นกพญาไฟใหญ่ นกพญาไฟเล็ก นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม เป็นต้น

     ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่บริเวณแนวหุบเขาตอนกลางของพื้นที่ ในระดับความสูงประมาณ 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดงแดง เติม สะบันงา กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดื่อ ตาว เต่าร้าง ค้อ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และหลบภัยของ กระทิง กวางป่า กระจงหนู เสือไฟ แมวดาว พญากระรอกท้องดำ นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกตั้งล้อ เป็นต้น

     ป่าเต็งรัง พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ ทางด้านตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนก ก่อแพะ ส้านใหญ่ มะม่วงหัวแมงวัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบเป็นจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา หญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง ตะกวด เต่าเหลือง เป็นต้น

     ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวสันเขาและบนยอดเขาบริเวณตอนกลางตามแนวเหนือ-ใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สนสามใบ มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู เป็นต้น มีสัตว์ป่าเข้าไปใช้ประโยชน์บางฤดู เช่น เลียงผา หมูป่า ลิงกัง ชะมดแผงหางปล้อง เม่นเล็กหางพวง หนูฟานเหลือง เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำและลำคลองต่างๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกเงือกกรามช้าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกะเต็นหัวดำ นกเป็ดผีเล็ก เขียดว้าก กบหนอง กบห้วยขาปุ่ม อึ่งกรายห้วยเล็ก กบทูด อึ่งขาคำ จงโคร่ง อึ่งน้ำเต้า อึ่งอ่างก้นขีด คางคกแคระ เขียดจะนา ปลาจาด ปลาซิวควายแถบดำ ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน ปลาช่อน ปลาสลาด ปลากด เป็นต้น




วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติคลองลาน

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลานและอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง เนื้อที่ประมาณ 187,500 ไร่ หรือ 300 ตารางกิโลเมตร


สืบเนื่องจากนายเทพ ไสยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0215/230 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2521 ว่า น้ำตกคลองลาน กิ่งอำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ขาดการดูแลรักษา และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลายลงไป ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ ที่ กส 0808/1114 ลงวันที่ 14 เมษายน 2521 แจ้งให้ ป่าไม้เขตนครสวรรค์ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กส 0809(นว)/1596 ลงวันที่ 27 เมษายน 2521 ว่า ได้ทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลานไว้แล้ว เพื่อจะขออนุมัติกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพราะเห็นว่ามีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งน้ำตกคลองลานอยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขากำแพงเพชร กรมประชาสงเคราะห์ ป่าไม้เขตนครสวรรค์จึงได้ประสานงานกับจังหวัดกำแพงเพชรและกรมประชาสงเคราะห์ ขอใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลาน จำนวน 5,000 ไร่ ที่อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดเป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ไม่ขัดข้อง จังหวัดกำแพงเพชรจึงมีหนังสือ ที่ มท 0714/13/13438 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2521 แจ้งให้กรมป่าไ
ม้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานเพื่อสงวนป่าต้นน้ำลำธารแห่งนี้

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 192/2523 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2523 ให้ นายปรีชา จันทร์ศิริตานนท์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดพื้นที่บริเวณป่าคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพป่าทั้งไม้สักและไม้กระยาเลยสมบูรณ์มาก เป็นภูเขาสูงมีธรรมชาติสวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองลานในท้องที่ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลาน และตำบลคลองลานพัฒนา กิ่งอำเภอคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 191 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2525 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 44 ของประเทศ

      ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิง

      ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติ ในฤดูร้อนค่อนข้างร้อน ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม 17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี

      พืชพรรณและสัตว์ป่า
ป่าคลองลานยังมีสภาพสมบูรณ์เป็นแหล่งสุดท้ายในด้านทิศใต้ของภาคเหนือ ประกอบด้วยชนิดป่าต่างๆ คือ ป่าดิบแล้ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 500 เมตรขึ้นไป เช่น ขุนคลองลาน ขุนคลองสวนมาก ขุนคลองขลุง ขุนน้ำเย็น ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน สมพง ยมหอม พะยอม สมอพิเภก ฯลฯ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าประเภทนี้ได้แก่ ชะนีมือขาว ช้างป่า หนูหริ่งไม้หางพู่ ปาดลายพื้นเมืองเหนือ กบห้วยขาปุ่ม เต่าปูลู กิ้งก่าบินคอแดง
 ฯลฯ ป่าดิบชื้น จะพบอยู่ตามริมห้วยที่มีความชื้นสูง ป่าดิบเขา จะพบเป็นหย่อมๆ ป่าเบญจพรรณ สภาพป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดงดิบ ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ประดู่ ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทนี้ ได้แก่ กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง ตะกวด ฯลฯ และ ป่าเต็งรัง พบในระดับความสูงประมาณ 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง ยอป่า สมอพิเภก รกฟ้า และสมพง ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในป่าประเภทนี้ได้แก่ เขียดหลังปุ่มที่ราบ เขียดอ่อง อึ่งปากขวด เก้ง เป็นต้น

ในบริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ แต่ปัจจุบันทางราชการได้อพยพชาวเขาเหล่านี้มาอยู่พื้นที่ราบที่ทางราชการจัดสรรให้ สภาพพื้นที่จึงถูกปล่อยให้รกร้างและกลายสภาพเป็นป่ารุ่นสอง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กจำพวกกระแตธรรมดา ค้างคาวขอบหูขาว กระรอก หนูฟันขาว และหนูขนเสี้ยน ส่วนในบริเวณที่เป็นถ้ำ หลืบหิน และหน้าผา เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเฉพาะชนิด เช่น เลียงผา ค้างคาวปีกถุงเคราแดง ค้างคาวมงกุฎเล็ก ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ และค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ์ เป็นต้น พื้นที่บริเวณริมลำห้วย และลำคลองที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งที่หลบซ่อนหรือถิ่นอาศัยหากินของสัตว์หลายประเภท ได้แก่ กบทูด อึ่งกรายลายเลอะ ตะพาบธรรมดา ปลาสลาด ปลาเวียน และปลาติดดิน เป็นต้น 

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติขุนแจ

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติขุนแจ
อุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นชื่อเรียกตามชื่อของน้ำตกขุนแจ ตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางจากเชียงใหม่ประมาณ 1 ชั่วโมง ตามทางหลวงสายเชียงใหม่-เชียงราย อุทยานแห่งชาติขุนแจ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 ถือเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญครอบคลุมเนื้อที่ถึง 270 ตารางกิโลเมตร ภายในอุทยานแห่งชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำตกและทิวทัศน์ที่งดงาม มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ตัดผ่านกลางพื้นที่ และแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน 





      เนื่องจากสถานการณ์เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ของชาติในปัจจุบันที่ค่อนข้างวิกฤต ดังที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปในฤดูกาลต่างๆ เช่น ฤดูฝนน้ำท่วม ฤดูร้อนมีอากาศร้อนอบอ้าวมาก และฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่ถูกหลักวิชาการ มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้และการยึดครอง ที่ดิน ตลอดจนการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยมิได้คำนึงถึงผลเสียที่เกิดติดตามมาภายหลัง รัฐบาลจึงได้ปิดป่าสัมปทานทั่วประเทศและมีนโยบายที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในรูปป่าอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่งฅ

       และจัดเป็นป่าเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง เพื่อจะได้แยกการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปตามหลัก วิชาการและบรรลุเป้าหมายโดยเร็ว ทางกรมป่าไม้พิจารณาแล้วจึงเห็นควรที่จะสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะอนุรักษ์ของชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ในลักษณะของอุทยานแห่งชาติ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้ นายสุเมธ สิงห์ขวา นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกขุนแจและพื้นที่ใกล้เคียง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูนน้อย ป่าแม่ปูนหลวง และป่าห้วยโป่งเหม็น ในท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535

      คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนแจ และ ปี พ.ศ. 2538 มีการประกาศในพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 28 เล่มที่ 112 ตอนที่ 33 ก. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติขุนแจ ”

ลักษณะภูมิประเทศ
      สภาพพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนแจเป็นภูเขาสูงและที่ราบสลับเนินเขา ประกอบด้วยหิน 2 ชนิด คือ หินอัคนีและหินตะกอน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตซึ่งเป็นหินที่พบเห็นได้ทั่วไปตามภาคเหนือของไทย หินแกรนิตเกิดจากการหลอมละลาย ของชั้นหินภายใต้ผิวโลกและถูกแรงบีบคั้นจนไหลออกมาตามรอยแยกบนพื้นโลก และเย็นลงอย่างช้าๆ และ ปรากฏขึ้นบนผิวโลกโดยขบวนการพังทลาย หินแกรนิตจะดูคล้ายกับเกล็ดเกลือสะท้อนแสง และพริกไทยสีดำขนาดใหญ่ ส่วนที่เป็นสีขาวคล้ายเกลือนั้น คือ แร่ควอซ์ดและ เฟลสปา ส่วนที่เป็นสีดำ คือ ไมก้า หินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่พบในอุทยานแห่งชาติ เรียกว่า บะซอลท์ (basaltic) ซึ่งเกิดจากลาวาภูเขาไฟที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เป็นหินสีเทาที่มีเนื้อละเอียด

      หินภูเขาไฟเหล่านี้สามารถพบทางแถบตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ส่วนหินตะกอน หินทราย และหินเชล เกิดจากการทับถมของตะกอนในแม่น้ำเวลานานเข้า จึงเกิดเป็นชั้นหินทรายที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นเม็ดทรายขนาดเล็กสีเทาทับถมเป็นชั้นๆ หินเชลมีสีเป็นสีเนื้ออ่อนและง่ายต่อการแตกหัก จุดสูงสุดคือยอดดอยลังกาหลวง มีความสูงถึง 2,031 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาวซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำกก

      ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นหุบเหว ซึ่งเกิดจากการกระทำของกระแสน้ำกัดเซาะ จนทำให้เกิดน้ำตกมากมาย ปริมาณน้ำฝนที่มากจึงมีอัตราการพังทลายของดินที่สูง ทำให้เกิดภูมิประเทศที่เป็นหุบเหวลึกนี้

ลักษณะภูมิอากาศ       ฤดูแล้งในอุทยานแห่งชาติขุนแจ อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม มีอุณหภูมิประมาณ 2-29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ มีฝนตกเฉลี่ย 60 มิลลิเมตร/เดือน มีอุณหภูมิประมาณ 19-29 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน (เป็นช่วงที่มีการเกิดไฟไหม้) อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-23 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
      อุทยานแห่งชาติขุนแจมีพันธุ์ไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่จาก 300-800 เมตร จะเป็นป่าไผ่และป่าเบญจพรรณระดับความสูง 800-1,000 เมตร เป็นป่าดงดิบและป่าเต็งรัง มีความสูงระหว่าง 1,000-1,500 เมตร เป็นป่าดิบและป่าสน ส่วนสภาพป่าที่สูงกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป เป็นป่าดิบเขาบริเวณหุบห้วย ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มซึ่งเป็นไม้จำพวกยางชนิดของต้นไม้ที่พบเป็นพืชชั้นล่างที่เด่น ได้แก่ กล้วยป่า เฟิน มอส และหญ้าที่ขึ้นตามชายน้ำ

      สัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติขุนแจ สามารถพบเห็นได้แตกต่างกันตามสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยและช่วงเวลาระหว่างวันในหุบเขาริมธารและป่าชุ่มชื่นเป็นบริเวณที่มีพืชพันธุ์เขียวชอุ่ม ซึ่งพบเห็นสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ชะมด หมูป่า เก้ง เม่น กระรอกหลายชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่บนต้นไม้และพื้นดิน ค้างคาว กระต่ายป่า สัตว์ที่คาดว่าจะพบได้ในอุทยานแห่งชาติ เช่น หมี ลิงลม ชะนีธรรมดา แมวป่า เลียงผา นกต่างๆ เช่น นกแซงแซวสีเทา เหยี่ยวรุ้ง เหยี่ยวนกเขาซิครา นกจับแมลงหัวเทา นกตีทอง นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า ไก่ป่า สัตว์เลื้อยคลานเช่น งูเขียวหางไหม้ งูจงอาง กิ้งก่าบิน ตุ๊กแก จิ้งเหลน เป็นต้น