วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2532 กำหนดให้ปี พ.ศ. 2532-2535 เป็นปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และต่อมารัฐมนตรีมีนโยบายที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ในลักษณะของอุทยานแห่งชาติ ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติ จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ของส่วนอุทยานฯ มาสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มนำแม่ฝางท้องที่ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ ท้องที่ตำบลแม่ข่า ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ จังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา" มีเนื้อที่ประมาณ 455.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 284,937.5 ไร่

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา


ลักษณะภูมิประเทศ     อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เทือกเขาวางตัวในเแนวทิศเหนือ – ใต้ เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่ – เชียงราย มียอดดอยสูงสุดคือ ดอยเวียงผา มีความสูง 1,834 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธารและแหล่งกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง และสาขาหนึ่งของน้ำแม่ลาว เช่น ห้วยแม่ฝางหลวง ห้วยแม่ฝางน้อย น้ำแม่ยางมิ้น

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

ลักษณะภูมิอากาศ
   สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างช่วงเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม โดยจะมีฝนตกหนักในช่วงเดือน กันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอากาศเย็นสบายเหมาะสำหรับเดินทางมาท่องเที่ยว ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 11.8 องศาเซลเซียส และสูงสุด 36.3 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

พืชพรรณและสัตว์ป่า
   สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ซึ่งป่าแต่ละชนิดเหล่านี้จะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ในเขตอุทยานแห่งชาติตามระดับความสูงของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ ตะแบก เต็ง รัง จำปีป่า สนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ มอส เฟิน กล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญและหายากของเมืองไทยอาทิ เช่น มณฑาดอย กุหลาบพันปี กายอม ซึ่งสามารถพบเห็นได้บนยอดดอยเวียงผา

   เนื่องจากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และขึ้นผสมปะปนกันอยู่หลายชนิด ตลอดจนระดับความสูงของพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 300-1,834 เมตร จึงทำให้เกิดแหล่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า เลียงผา เสือไฟ หมีควาย เม่น กระต่ายป่า ลิง อีเห็น กระรอก กระแต และนกนานาชนิด เช่น นกกงเขนดง นกพญาไฟ นกโพระดก นกกินปลี นกหัวขวาน ไก่ป่า และที่สำคัญยังสามารถพบเห็นสลาแมนเดอร์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

อุทยานแห่งชาติผาแดง

อุทยานแห่งชาติผาแดง
อุทยานแห่งชาติผาแดง (เชียงดาว) เป็นแนวเทือกเขาติดต่อจากดอยเชียงดาวและดอยผาแดง เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งรวมเรียกว่า ป่าทางด้านเหนือของประเทศ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิงและแม่แตง เรียกว่า ขุนน้ำปิงและขุนน้ำแม่แตง อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเชียงดาว ท้องที่อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว

อุทยานแห่งชาติผาแดง




อุทยานแห่งชาติผาแดง




อุทยานแห่งชาติผาแดง

      และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ท้องที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจ คือ

      น้ำตกศรีสังวาลย์ น้ำตกปางตอง น้ำรูนิเวศน์ ถ้ำแกลบ ถ้ำตับเตา บ่อน้ำร้อนโป่งอาง ดอยผาตั้ง ดอยผาแดง จุดชมทิวทัศน์ยอดดอย


อุทยานแห่งชาติผาแดง



อุทยานแห่งชาติผาแดง




อุทยานแห่งชาติผาแดง

      นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 721,825 ไร่ หรือ 1,154.92 ตารางกิโลเมตร

      สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติ ประชาชนรู้จักและคุ้นเคยกับสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาวมาก่อน อีกทั้งเป็นชื่อของอำเภอเชียงดาว ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อเสียง รู้จักกันแพร่หลาย มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก จุดชมวิว เป็นต้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้นายโชดก จรุงคนธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว ท้องที่อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง จังหวัดเชียงใหม่

       และได้มีการสำรวจเพิ่มเติม ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และหน่วยงานอุทยานแห่งชาตินี้ได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติที่ กษ. 0713 (ชด)/9 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 ว่า อุทยานแห่งชาติเชียงดาว ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้ (นายไพโรจน์ สุวรรณกร) ให้อนุมัติให้ใช้ชื่อ “อุทยานแห่งชาติเชียงดาว” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 ทั้งนี้เพราะเป็นชื่อป่าสงวนแห่งชาติ และอำเภอเชียงดาว ซึ่งประชาชนรู้จักกันดี

       ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ประชุมครั้งที่ 1/2538 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2538 มีมติเห็นชอบ ให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเชียงดาว โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/5718 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 ยืนยันมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณป่าเชียงดาว ในท้องที่ตำบลเมืองนะ ตำบลทุ่งข้างพวง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห บลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง และป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลศรีดงเย็นอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

       และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น และสำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีนำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายตามหนังสือที่ นร 0204/14602 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543

       ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเชียงดาว เป็นอุทยานแห่งชาติผาแดง
อุทยานแห่งชาติผาแดง

อุทยานแห่งชาติผาแดง

ลักษณะภูมิประเทศ       สภาพโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ภูเขาทางด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินชั้น มีดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยถ้ำแกลบ ดอยหัวโท ดอยขุนห้วยไซ ดอยผาแดง ดอยถ้ำง๊อบ ดอยด่านฟาก เป็นต้น ภูเขาทางด้านตะวันตกส่วนใหญ่ เป็นเขตที่มีผืนป่าใหญ่ปกคลุมอยู่มีดอยที่สำคัญได้แก่

      ดอยกำพร้า ดอยปุกผักกา ดอยเหล็กจี ดอยสันกิ่วคมพร้า ดอยกิ่วฮูลม ดอยถ้วย ดอยยางกลอ เทือกเขาตอนกลางระหว่างห้วยแม่จกถึง บ้านหนองเขียวแนวเหนือ-ใต้ เป็นที่ราบลุ่มที่มีความสูงไม่มาก มีดอยถ้ำยุง ดอยขุนเป้า เป็นต้น พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 400-1,800 เมตร มียอดเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความสูงสุดของพื้นที่ได้แก่ ดอยปุกผักกา มีความสูง 1,794 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ       อุทยานแห่งชาติเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก เพราะอยู่ในแนวทางที่มีร่องอากาศพาดผ่าน โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อนจะหนาวเย็นในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 7.5 องศาเซลเซียส และเฉลี่ยสูงสุด 26.7 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในฤดูฝน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 1,838.5 มิลลิเมตร

      โดยเดือนสิงหาคมจะมีฝนตกมากที่สุด ลักษณะอากาศที่ผิดปกติ ไม่มีภัยธรรมชาติร้ายแรงมากนัก ยกเว้นในช่วงฤดูฝนมักมีลมแรงจัด ในช่วงฝนตกหนัก มีลูกเห็บตกตามมา ทำลายผลไม้ให้เสียหายได้ และอาจมีน้ำไหลบ่าด้วยความรวดเร็ว มีปริมาณน้ำมากทำความเสียหายแก่เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง

พืชพรรณและสัตว์ป่า
     เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายชนิด ชนิดป่าประกอบด้วย ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ จำปีป่า ยาง ตะเคียน สมอพิเภก อบเชย ทะโล้ ไม้สนเขา ไม้เหียง ไม้พลวง ป่าผลัดใบ ได้แก่ เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ประดู่ แดงตะแบก ยอป่า เสลา ยมหิน ไผ่เวก ไผ่ป่า หญ้าชนิดต่างๆ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว สมอไทย กระโดนฯลฯ

     ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะเป็นป่าผืนเดียวกับป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว สัตว์ป่าที่สำคัญประกอบด้วย กวางผา เก้ง หมูป่า วัวแดง กระทิง เม่น ค่าง อีเห็น กระรอก กระแต นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบชนิดต่างๆ คางคก อึ่งอ่าง เขียด ฯลฯ ส่วนใหญ่พบตามลุ่มน้ำ



อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” คำว่า ดอยหลวง หมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

    แต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า “ดอยอ่างกา” เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือ ยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนครต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ “ดอยหลวง” พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่า หากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวงด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้า อินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่

     อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่ามีหลายประเภททั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา โดยเฉพาะป่าดิบเขาบนยอดดอยสูงสุด นับเป็นธรรมชาติที่โดดเด่นที่สุด

     นอกจากนี้บนยอดดอยยังพบพืชจากเขตอบอุ่น เช่น กุหลาบพันปี บัวทอง ต่างไก่ป่า ฯลฯ และตามหน้าผาพบป่ากึ่งอันไพน์ ซึ่งเป็นสังคมพืชที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ดอยอินทนนท์เป็นศูนย์รวมของนกป่าเกือบ 400 ชนิด โดยเฉพาะนกหายากหลายชนิดที่อาศัยในที่สูง เช่น นกปีกแพร นกกระทาดง นกศิวะ ฯลฯ ในจำนวนนี้มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยบนดอยอินทนนท์ในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดพบได้ยากในพื้นที่อื่น เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกจาบปีกอ่อน นกเขน ฯลฯ

     อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์และป่าเตรียมการสงวนป่าจอมทอง อำเภอจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2497 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2502) ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ต่อมาได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 14 ป่า ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อการนำเอาสภาพป่าและสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา

     กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้ นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 นายปรีดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่า ป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม

     และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่ หรือ 270 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ

     เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จที่บริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้พิจารณาดำเนินการขยายอาณาเขตของอุทยานแห่งชาติออกไปคลุมถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำต้นน้ำลำธารเพิ่มขึ้นอีก กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม ปรากฎว่า ตามที่กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติระบุท้องที่ตำบลแม่ศึก

     ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติและมิได้ระบุท้องที่ตำบลช่างเคิ่งและตำบลท่าผา ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ดังกล่าว ประกอบกับทางราชการกองทัพอากาศประสงค์ที่จะกันพื้นที่บางส่วนเพื่อก่อสร้างสถานีเรดาร์ เพื่อใช้ในราชการกองทัพอากาศ เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2517 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสงค์ที่จะปรับปรุงแนวขยายแนวเขตอุทยานแห่งชาติออกไป โดยกำหนดป่าสงวนแห่งชาติอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติเห็นชอบ

     กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ หรือ 482.40 ตารางกิโลเมตร โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

     ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 
ลักษณะภูมิประเทศ
     สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล มีระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดในประเทศไทย ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือ ยอดดอยหัวหมดหลวง สูง 2,330 เมตร ยอดดอยหัวหมดน้อย สูง 1,900 เมตร ยอดดอยหัวเสือ สูง1,881 เมตรจากระดับน้ำทะเล

     ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์โดยทั่วไป ประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไป และหินส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์และหินแกรนิต ส่วนหินชนิดอื่นๆ ที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูน จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ได้แก่หินกรวดมน
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

     อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง ให้กำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่ยะ ลำน้ำแม่หอย ลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำแม่เตี๊ยะ ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด อำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
      สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน

      และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีความหลากหลายทางด้านระดับความสูง ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลักษณะของสภาพอากาศแบบเขตร้อนในตอนล่างของพื้นที่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตรลงมา มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อนในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 1,000-2,000 เมตร และมีสภาพอากาศแบบเขตอบอุ่นในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป

      ในพื้นที่สูงตอนบนของอุทยานแห่งชาติ โดยทั่วไปแล้วจะมีสภาพที่ชุ่มชื้นและหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ซึ่งมีลักษณะเป็นสันเขาและยอดเขา จะมีกระแสลมที่พัดแรงและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก และในช่วงวันที่หนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิจะลดต่ำลงถึง 0-4 องศาเซลเซียส และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น ที่ระดับกลางของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


      สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,100 มิลลิเมตร/ต่อปี สำหรับในพื้นที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่เย็นและชุ่มฉ่ำอยู่

      ทั้งนี้เพราะจะเป็นระดับความสูงของเมฆหมอก ทำให้สภาป่ามีเมฆและหมอกปกคลุมเกือบตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า

      สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์สามารถจำแนกออกเป็น ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร

      ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า รักใหญ่ ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชอิงอาศัยพวกเอื้องแซะ เอื้องมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ

      นอกจากนี้ยังมีพวกมอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นไม้พุ่ม หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในชั้นระดับความสูง 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล

      ตามที่ลุ่มหรือตามแนวสองฝั่งของลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ นอกจากนี้ยังมีไผ่ชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา ส่วนพืชพื้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่ม หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าชนิดอื่นๆ ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ

      ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางปาย ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อหยุม ก่อลิ้ม ประดู่ส้ม มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ไทรย้อย เดื่อหูกวาง พืชพื้นล่างเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง เช่น กล้วยป่า หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออสมันด้า กูด เฟิน ปาล์ม หวายไส้ไก่ หมากป่า และเขือง เป็นต้น

      ป่าดิบเขาตอนล่าง เป็นป่าที่พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000-1,800 เมตร หรือในบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีป่าที่มีอยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพ หรือป่ารุ่นใหม่ จะมีป่าดิบเขาดั่งเดิมเหลืออยู่บ้างเพียงเล็กน้อย


      สภาพโดยทั่วไปของป่าดิบเขาในพื้นที่ดอยอิทนนท์จึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบและวิธีการฟื้นฟูของสังคมพืช ชนิดป่าที่พบที่สำคัญได้แก่ ป่าสนล้วน ป่าก่อผสมสน ป่าก่อ และป่าดิบเขาดั่งเดิม พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสามใบ สารภีดอย เหมือดคนตัวผู้ ก่อแป้น ก่อใบเลื่อม กอเตี้ย ก่อแดง ก่อตาหมูหลวง ก่อนก ทะโล้ จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง กล้วยฤาษี นมวัวดอย ฯลฯ

      ป่าดิบเขาตอนบน ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบ เขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งจะมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างจะไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม พันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อชื้นได้แก่ ก่อดาน ก่อแอบ จำปีหลวง แกง นางพญาเสือโคร่ง กะทัง


       นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและไม้เกาะเกี่ยวเช่น คำขาว กุหลาบขาว คำแดง และยังมีต้นโพสามหาง กระโถนฤาษี เป็นต้น ในบริเวณแอ่งน้ำและรอบๆ ป่าพรุจะมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ เช่น บัวทอง พญาดง เทียน ผักหนอกดอย มะ แหลบ วาสุกรี บันดงเหลือง ต่างไก่ป่า กุง กูดขน ฯลฯ และบริเวณชายขอบป่าพรุจะมีกุหลาบพันปีสีแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะบนยอดดอยอินทนนท์เท่านั้น

       สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นกพญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่งกราย คางคกเล็ก ปาดแคระฯลฯ


      แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย


อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย


ดอยสุเทพไม่เพียงแต่เป็นที่ตั้งของวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ที่ประทับช่วงฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทว่าดอยสูงแห่งนี้ยังสมบูรณ์ด้วยสภาพธรรมชาติทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่า โดยเฉพาะนก ประกอบกับการเดินทางเข้าถึงสะดวก เพราะเชิงดอยอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 6 กิโลเมตร


         และบนเส้นทางขึ้นสู่ยอดดอยประมาณ 16 กิโลเมตร ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้เที่ยวชมได้ตลอด
ดอยสุเทพ เดิมชื่อว่า “ดอยอ้อยช้าง” สำหรับดอยสุเทพที่เรียกกันในปัจจุบันนี้เป็นชื่อที่ได้มาจาก “พระฤาษีวาสุเทพ” ซึ่งเคยบำเพ็ญตบะอยู่ที่เขาลูกนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว

        แต่เดิมก่อนที่ป่าดอยสุเทพจะได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นป่าหวงห้าม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 28 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ต่อมาได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 และได้มีมติคณะรัฐมนตรีประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติพิเศษเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2510

        ในขณะเดียวกันกองบำรุง กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งสถานีวนกรรมภาคเหนือขึ้นในพื้นที่บริเวณดอยสุเทพเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการปลูกป่าในที่สูง การปลูกป่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกบุกรุก และการทดลองปลูกพืชพรรณไม้ต่างถิ่น เช่น สน ยูคาลิปตัส และไม้เมืองหนาวอีกหลายชนิด ซึ่งยังคงสภาพอยู่หลายแปลงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน

        ในปี พ.ศ. 2516 ทางราชการได้กำหนดป่าดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงส่ง นายปัญญา บุญสมบูรณ์ ออกไปดำเนินการสำรวจป่าดอยสุเทพ-ปุย หลังจากนั้นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติจึงได้มีมติให้กำหนดพื้นที่ที่เป็นป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยกันพื้นที่ของราษฎรออกไป และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่า ดอยสุเทพ ในท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม ตำบลแม่สา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม ตำบลบ้านปง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง และตำบลช้างเผือก ตำบลสุเทพ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 57 วันที่ 14 เมษายน 2524 ครอบคลุมพื้นที่ 100,662.50 ไร่ หรือ 161.06 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ

       ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายขอบเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ครอบคลุมบริเวณน้ำตกแม่สา น้ำตกตาดหมอก-วังฮาง น้ำตกตาดหมอกฟ้า และพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร โดยรอบของน้ำตกทั้งสามแห่งในพื้นที่ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง และตำบลแม่แรม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 62,500 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 163,162.50 ไร่ หรือประมาณ 261.06 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 137 วันที่ 26 กันยายน 2525

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย


อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
      ลักษณะของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชยที่สืบเนื่องต่อจากเทือกเขาหิมาลัย ความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 330-1,685 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมียอดดอยปุยเป็นจุดที่สูงที่สุด นอกจากนี้มียอดเขาต่างที่สูงลดหลั่นกันมา ได้แก่ ยอดดอยสุเทพที่บริเวณสันกู่ สูง 1,601 เมตร ยอดดอยแม่สาน้อย สูง 1,549 เมตร ยอดดอยค่อมร่อง สูง 1,459 เมตร ยอดดอยบวกห้าบริเวณพระตำหนักภุพิงค์ราชนิเวศน์ สูง 1,400 เมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สูง 1,130 เมตรจากระดับน้ำทะเล

      สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่อยู่ในเขตอำเภอแม่แตงมีความสูงอยู่ในระหว่าง 400-980 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยทั่วไปประกอบด้วย หินอัคนี ชนิดที่สำคัญได้แก่ หินแกรนิต นอกจากี้ยังมีหินชั้นและหินแปร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบๆ ได้แก่ อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แตง มีลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยตึงเฒ่า ห้วยแม่หยวก ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยปงน้อย ห้วยแม่เหียะ ห้วยแม่นาไทร และห้วยแม่ปอน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ 
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
       สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป

       แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยมีความหลากหลายทางด้านระดับความสูงและมีเทือกเขาสลับซับซ้อนสูง ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยทั่วไปแล้วสภาพภูมิอากาศในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 2-23 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 1,350-2,500 มิลลิเมตร โดยมีจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย 139 วัน และมีค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 70-80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับบริเวณที่สูงของอุทยานแห่งชาติ เช่น บริเวณยอดดอยปุย สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ในวันที่อากาศหนาวจัด ค่าอุณหภูมิอาจลดลงถึง 4-5 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า 
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยสังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยสามารถจำแนกออกเป็น ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่บริเวณรอบๆ ชายขอบของอุทยานแห่งชาติที่ระดับความสูงระหว่าง 330-850 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านลาดทิศตะวันออกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ พืชพรรณส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม ก่อแพะ ก่อตาหมู รักใหญ่ แข้งกวาง หว้า ฯลฯ พืชอิงอาศัย ได้แก่ เอื้องแซะ เอื้องดอกมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี มอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น

       ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ในชั้นระดับความสูง 330-950 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่หลายชนิด พืชพรรณประกอบด้วย สัก ตะแบก ประดู่ มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ ฯลฯ พืชอิงอาศัยได้แก่ เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา เป็นต้น

       ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในชั้นระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามบริเวณหุบเขา บริเวณต้นน้ำลำธาร เช่น บริเวณน้ำตกมณฑาธาร น้ำตกสันป่ายาง และห้วยแม่ลวด ฯลฯ ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อแดง มะไฟป่า เสี้ยวป่าดอกขาว มะเกลือเลือด ฯลฯ พืชพื้นล่างจะเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบความชื้นสูงขึ้นอยู่อย่างแน่นทึบ เช่น กล้วยป่า หมากป่า เขือง หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออส มันด้า กูด เฟิน หวายไส้ไก่ เป็นต้น

       ป่าดิบเขา พบในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดดอยปุย ต้นไม้ในป่าจะมีพืชเกี่ยวเกาะขึ้นปกคลุมตามลำต้นและเรือนยอดอย่างหนาแน่น ที่สำคัญได้แก่ กล้วยไม้ชนิดต่างๆ ฝอยลม มอส คำขาวหรือกุหลาบพันปีสีขาว ฯลฯ พรรณไม้เด่นที่สำคัญได้แก่ ก่อแป้น ก่อเลือด ก่อนก มณฑาหลวง จำปีป่า สารภีดอย กำลังเสือโคร่ง อบเชย ทะโล้ กำยาน ฯลฯ ในบางแห่งจะมีสนสามใบขึ้นปะปนอยู่ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าคา หญ้าใบไผ่ ม้าสามตอน กูดต้น ขิงป่า ข่าป่า และกระชายป่า เป็นต้น

        สัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่อยู่ในสภาพวิกฤติ ทั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและขนาดกลางมีจำนวนลดลงมาก เช่น เก้ง กวางป่า ลิง ชะนี ฯลฯ และสัตว์ขนาดใหญ่บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง และเสือ เป็นต้น

         ปัจจุบันสัตว์ป่าที่ยังคงพบเห็นในพื้นที่ได้แก่ หมูป่า อีเห็นเครือ อีเห็นข้างลาย เม่นหางพวง อ้นเล็ก กระจ้อน กระเล็นขนปลายหูสั้น ค้างคาวมงกุฎเล็ก หนูขนเสี้ยนดอย หนูท้องขาว เต่าปูลู จิ้งจกบ้านหางแบนเล็ก กิ้งก่าหัวแดง งูสายม่านพระอินทร์ งูแส้หางม้าเทา อึ่งกรายหัวเล็ก กบหนอง อึ่งขาคำ และนกนานาชนิดกว่า 300 ชนิด เช่น นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง นกกระทาทุ่ง นกกะเต็นน้อย นกกางเขนบ้าน นกกาแวน นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกขุนแผน นกเขาใหญ่ นกจับแมลงคอแดง นกจาบคาหัวสีส้ม นกแซงแซวสีเทา นกเด้าดินทุ่ง นกตบยุงหางยาว นกปรอดทอง นกพญาปากกว้างอกสีเงิน นกหกเล็กปากแดง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกอีวาบตั๊กแตน นกอีเสือหัวดำ เหยี่ยวนกเขาซิครา เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก (แม่ฝาง) มีพื้นที่ประมาณ 327,500 ไร่ ครอบคลุมอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า อันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงามน่าสนใจ คือ ดอยผ้าห่มปก ดอยสูงอันดับสองของประเทศไทย บ่อน้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ ถ้ำห้วยบอน น้ำตกโป่งน้ำดัง น้ำตกตาดหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

    ความเป็นมา : เมื่อปี พ.ศ. 2511 สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจและตกแต่งให้เป็นสถานที่พักผ่อน ต่อมา ปี พ.ศ. 2524 กรมป่าไม้ได้อนุมัติจัดตั้งให้เป็น “วนอุทยาน” โดยใช้ชื่อว่า “วนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง” มีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำฝาง 31 ตารางกิโลเมตร หรือ 19,375 ไร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2531 กองอุทยานแห่งชาติในขณะนั้นได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของกองอุทยานแห่งชาติมารับงานวนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง เพื่อดำเนินการสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป 

    ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 97 ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2543 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 81ก ลงวันที่ 4 กันยายน 2543 โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำฝาง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง 

   ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก


ลักษณะภูมิประเทศอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 
    สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติแม่ฝางเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว มีระดับความสูงตั้งแต่ 400-2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม และดอยผ้าห่มปก ซึ่งมีความสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ในเขตท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดต่อกับพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง คือ ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน พื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอแม่อาย คือ ตำบลมะลิกา ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน และพื้นที่ 2 ตำบลของอำเภอไชยปราการ คือ ตำบลหนองบัว และตำบลปงตำ 

ลักษณะภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก    สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายนประมาณ 39.1 องศาเซลเซียส และฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 1,183.5 มิลลิเมตร มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 14-19 องศาเซลเซียส ยอดดอยมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 14 องศาเซลเซียส 

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก


พืชพรรณและสัตว์ป่าอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก      พืชพรรณ : สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก สามารถจำแนกโดยอาศัยปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และชนิดพืชพรรณที่ขึ้นอยู่ ได้ 5 ประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดิบเขา ส่วนชนิดพืชพรรณเด่น พืชหายาก และไม้เฉพาะถิ่นที่สามารถพบได้ในพื้นที่ เช่น มณฑาดอย ลำดวนดอย นางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ส่วนไม้พุ่มและไม้ล้มลุก เช่น พิมพ์ใจ บัวทอง หนาดขาว เทียนคำ เทียนดอย หรีดเขา ไม้เถาเลื้อย เช่น นมตำเรีย สะบ้าลิง พาลี และหนามไข่ปู ส่วนพืชเกาะอาศัย เช่น ว่านไก่แดง บีโกเนีย และกล้วยไม้ชนิดต่างๆไม่ต่ำกว่า 70 ชนิด พืชกาฝาก เช่น ดอกดินแดง ขนุนดิน เป็นต้น 

    สัตว์ป่า : เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์สูง จึงสามารถพบเห็นสัตว์ป่าได้หลากหลาย ชนิด โดยเฉพาะ “นก” ซึ่งพบกว่า 323 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นหายาก เช่น นกติ๊ดหัวแดง นกขัติยา นกกระรางอกลาย และนกอพยพเข้ามาในช่วงฤดูหนาว เช่น นกเดินดงสีน้ำตาลแดง นกเดินดงอกเทา และนกเดินดงสีคล้ำ เป็นต้น ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะพบเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก ส่วนมากจะพบเพียงรอยเท้า และร่องรอยการหากิน เช่น เสือไฟ หมาไม้ หมีควาย เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า เพียงพอนเส้นหลังขาว และสัตว์ที่มีรายงานการพบใหม่ในประเทศไทยครั้งแรกบริเวณพื้นที่ดอยผ้าห่มปก คือ เพียงพอนยุโรป (Least Weasel) ผีเสื้อ และแมลงเป็นสัตว์ป่าที่พบได้บ่อยในพื้นที่เนื่องจากมีความหลากหลายสูง อีกทั้งสามารถพบเห็นผีเสื้อหายากบางชนิดอีกด้วย ผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และแมลงชนิดต่างๆ เช่น ด้วงคีมยีราฟ กว่างซาง ด้วงคางคกผา เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ้งก่าคอแดง งูสามเหลี่ยม งูลายสาบคอแดง เต่าปูลู ตะกวด เป็นต้น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่พบ เช่น กบมื่น กบดอยผ้าห่มปก อึ่งแม่หนาว อึ่งกรายห้วยเล็ก ปาดตีนเหลืองเหนือ และกระท่าง เป็นต้น 

อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติขุนขาน

อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ใน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


    สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้ทำการสำรวจและพิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติอันสวยงาม มีน้ำตก หน้าผา ถ้ำ หลายแห่งเหมาะสมให้กรมป่าไม้ทราบและพิจารณา กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 934/2536 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2536 ให้นายสุรศักดิ์ วุฒิอิ่น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ มาดำเนินการสำรวจจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติขุนขาน”

    การดำเนินการสำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้ดำเนินการสำรวจมีเนื้อที่ประมาณ 442,500 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิงและตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รายงานให้ ส่วนอุทยานแห่งชาติและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณที่สำรวจจัดตั้งทับซ้อนกับพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาร้องเรียน เกี่ยวกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภาคเหนือ 13 แห่ง จึงได้มีมติที่ประชุม “ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขานไปดำเนินการแก้ไข ปัญหาราษฎรร้องเรียนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง ทับซ้อนพื้นที่ทำกินของราษฎรก่อน”

   หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขาน ได้เข้าร่วมดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร ของคณะกรรมการตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด จนถึง ปี พ.ศ.2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 เห็นชอบผลการเจรจากลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน กรณีป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ (เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1) จำนวน 19 แห่ง ซึ่งปรากฏว่าไม่มีรายชื่ออุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ในข้อเรียกร้องแล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจง แก่สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จำนวน 6 ตำบล รวมทั้งทำการเดินสำรวจกันเขตที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิก อบต. และร่วมกันกำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมปรับลดพื้นที่ให้เหมาะต่อการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในอนาคต ทำให้ขนาดของพื้นที่ลดลงเหลือเนื้อที่ประมาณ 150,000 ไร่

      ในปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไปแล้ว

ลักษณะภูมิประเทศ     พื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนขานตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 18 องศา 46 ลิปดา ถึง 19 องศา 02 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 98 องศา 23 ลิปดา ถึง 98 องศา 49 ลิปดาตะวันออก อาณาเขตทิศเหนือจด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ท้องที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้จดพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ท้องที่ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกจด เขตอำเภอแม่ริม ท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตกจด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนโดยทั่วไป มีความสูงตั้งแต่ 500-1,708 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สุงที่สุดคือ ยอดดอยปุงเกี้ย สูง 1,708 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแม่ขาน และแม่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำทั้ง 2 สาย ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
    สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติ ประกอบไปด้วยป่า 5 ชนิด คือ
ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงกับอำเภอแม่แจ่ม พันธุ์ไม้ที่พบมากได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มเต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบตามยอดเขาโดยทั่วไปที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบทางทิศตะวันออกของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สัก เติม สมอไทย เส้า แดง ประดู่ เสี้ยว มะแฟน ซ้อ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง พบมากโดยทั่วไปบริเวณภูเขาที่ไม่สูงมากนัก พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง สนสองใบ มะกอก เส้า เสี้ยว เป็นต้น


สัตว์ป่าที่มีมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า เม่น หมาไน หมาจิ้งจอก นิ่ม ตุ่น กระรอก กระต่ายป่า บ่าง ค้างคาว อีเห็น พังพอน เป็นต้น ที่มีน้อยได้แก่ ลิง ชะนี เสือ เลียงผา นกกก เป็นต้น


อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอมาลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 3 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท
 

    พื้นที่วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกันและมีสภาพ ธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่การบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มี กฎหมายรองรับ จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญให้มีศักยภาพเพียง พอที่จะรองรับการขยายตัวของชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ

    กรม ป่าไม้จึงได้มีการสำรวจพื้นที่วนอุทยานต่างๆ ดังกล่าวรวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ข้างเคียง โดยเริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่เมื่อเดือนมกราคม 2544 และกรมป่าไม้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกมาควบคุมพื้นที่จะประกาศเป็นอุทยาน แห่งชาติลำน้ำกก เมือเดือนกรกฎาคม 2544 และในปีงบประมาณ 2545 กรมป่าไม้ได้จัดแผนงานและงบประมาณดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกรวม ทั้งอนุมัติการก่อสร้างชุดอาคารสำนักงาน ณ บริเวณที่ตั้งที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยหมากเลี่ยม ท้องที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545

    พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ประมาณ 458,110 ไร่ หรือ 732.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ตำบลป่าตึง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู ตำบลดอยฮาง ตำบลบ้านดู่ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลวาวี ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย และตำบลโป่งแพร่ ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว มีอาณาเขตทิศเหนือจดทางหลวงแผ่นดินสายแม่จัน-แม่อาย ท้องที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทิศใต้จดทางหลวงแผ่นดินสายเชียงราย-แม่สรวย และบ้านโป่งฟูเฟือง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกจดท้องที่ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลดอยฮาง และตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันตกจดตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง และตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย


    ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
    ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันสลับกับที่ราบแคบๆ บริเวณหุบเขาเป็นหย่อมเล็กๆ ตอนเหนือและตอนใต้ของพื้นที่เป็นที่สูงลาดต่ำลงมาตอนกลางจะเป็นที่ราบลุ่ม น้ำสลับกับร่องเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 500-1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล มียอดดอยช้างเป็นดอยที่สูงที่สุด ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ ดอยยาว ดอยบ่อ ดอยช้าง ดอยผามูบ เป็นต้น มีแม่น้ำกกซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือตอนบนไหลผ่านที่ราบลุ่มตอนกลาง ของพื้นที่ โดยต้นน้ำเริ่มมาจากประเทศพม่าไหลผ่านเขตประเทศไทยที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงราย จากทางทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก รวมระยะทางจากตำบลท่าตอนถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติประมาณ 85 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีลำน้ำในพื้นที่อีกหลายสายที่เกิดจากต้นน้ำในเทือกเขาต่างๆ ในพื้นที่อันได้แก่ ห้วยแม่กรณ์ ห้วยแม่มอญ ห้วยย่าดี ห้วยชมภู ห้วยส้าน ห้วยแม่ซ้าย และห้วยเลาอ้าย ซึ่งลำห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่และไหลไปรวมกับแม่น้ำลาวและน้ำแม่กก ซึ่งเป็นแม้น้ำสายสำคัญของจังหวัดเชียงราย

ลักษณะภูมิอากาศ     พื้นที่จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ในเขตมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู อย่างชัดเจน คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั่งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2534 - 2543 เฉลี่ยประมาณ 1,629 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยมีหมอกตลอดฤดูหนาว

พืชพรรณและสัตว์ป่า
    ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก สามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ป่า ดิบเขา พบที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 800 เมตร ขึ้นไป ในบริเวณยอดดอยช้าง วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อก้างด้าง ก่อพวง ก่อเดือย ก่อสีเสียด พญาไม้ ขุนไม้ มะขามป้อมดง เมื่อย จันทร์ทอง จำปีป่า เมี่ยงดอย กุหลาบขาว คำแดง ก่วมแดง โคลงเคลงขน จุกนารี กำลังช้างสาร กุหลาบหิน ข่าคม กระเจียวขาว เฟิน ฯลฯ ป่าดิบแล้ง พบได้ในระดับความสูง 300 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและริมห้วย พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง คอแลน กระเบากลัก พลับพลาข่อยหนาม กระดูกค่าง ชมพู่ป่า หวายขม เครืองูเห่า ปัดแดง กล้วยดงดำ เฟิน ผักเบี้ยดิน หญ้ากาบไผ่ ลดาวัลย์ และเถายั้งดง เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่มากที่สุด ในระดับความสูง 50 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ สัก กระพี้เขาควาย รกฟ้า ตะแบกเลือด ซ้อ สมอไทย ขะเจ๊าะ เปล้าหลวง มะกอกป่า ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่รวก กระชาย กลอย ขมิ้น ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 400 - 600 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง กราด แสลงใจ มะขามป้อม ไผ่เพ็ก โจด ฯลฯ

    สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกกมีเหลืออยู่น้อยมาก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ เก้ง หมูป่า อีเห็น เม่นหางพวง ลิ่นกระต่ายป่า กระรอกท้องแดง กระแตธรรมดา กระจ้อน หนูท้องขาว นกตะขาบทุ่ง นกกางเขนบ้าน นกกระปุดใหญ่ นกขมิ้นน้อยธรรมดา นกแซงแซวหางปลา นกปรอดสวน เหยี่ยวนกเขา นกเขาใหญ่ ตะกวด กิ้งก่าหัวสีแดง งูเขียวหางไหม้ งูสิง งูสามเหลี่ยม งูเห่า กบ เขียด คางคกบ้าน และปาด เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยาน แห่งชาติดอยหลวง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง และพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจากวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้ำตกปูแกง และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติและจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตร

     กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/3430 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2524 เสนอกรมป่าไม้ เพื่อขอยกฐานะวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และวนอุทยานน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันและอยู่ในป่าเทือกเขาดอยหลวงด้วยกันเป็นอุทยานแห่ง ชาติดอยหลวง โดยได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1578/2524 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ให้ นายธวัชชัย เสถียรกาล นักวิชาการป่า 4 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งอุทยานแห่งชาติดอยหลวงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ดล)/5 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2525 ส่งรายงานการสำรวจ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งมีสภาพป่าที่ อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรวมวนอุทยานทั้งหมด จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 

     ต่อมาจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปางได้ขอให้กรมป่าไม้จัดบริเวณวนอุทยาน น้ำตกวังแก้ว จังหวัดลำปาง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการสำรวจปรากฏว่า มีพื้นที่เป็นบริเวณติดต่ออยู่ในเทือกเขาดอยหลวง ซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกันทั้งหมดและเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1 A ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำห้วยหลายสายซึ่งไหลลงสู่กว้านพะเยา พื้นที่ที่สำรวจมีธรรมชาติและจุดเด่นที่สวยงามมากมาย เหมาะสำหรับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

     กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 เห็นชอบในหลักการที่จะให้ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวงต่อไปได้ ทั้งนี้ให้กันพื้นที่บริเวณที่ราษฎรถือครองออกเสียก่อน โดยให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12มิถุนายน 2527 คือ ให้ยึดถือภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 เป็นเกณฑ์พิจารณา

     กองอุทยานแห่งชาติ จึงได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องที่ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ลาวฝั่งขวา ป่าแม่ส้าน และป่าแม่ใจ ในท้องที่ตำบลแม่สรวย ตำบลแม่พริก ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย ตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว ตำบลสันกลาง ตำบลป่าหุ่ง ตำบลม่วงคำ ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน ตำบลสันสลี ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตำบลป่าแฝก ตำบลเจริญราษฎร์ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ป่าขุนวัง แปลงที่สอง ป่าขุนวังแปลงที่สาม ป่าขุนวังแปลงที่หนึ่ง ป่าแม่โป่ง และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ และตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง และป่าแม่ต้ำ ป่าแม่นาเรือ ในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ ตำบลท่าจำปี ตำบลบ้านต้ำ ตำบลบ้านต๋อม ตำบลบ้านสาง ตำบลบ้านตุ่น ตำบลแม่นาเรือ อำเภอพะเยา จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 16 เมษายน 2533 มีพื้นที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศ




ลักษณะภูมิประเทศ
      สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยค่อนข้างสูงขึ้นจากทางเหนือลงมาทางใต้ โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดดอยหลวง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,694 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสภาพดินเป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำวังและกว๊านพะเยา

ลักษณะภูมิอากาศ       ประกอบไปด้วยฤดูกาล 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า       ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึงไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงห์โต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา กระดุมเงิน

      สัตว์ป่าประกอบด้วย เลียงผา เก้ง กวางป่า หมูป่า หมี อีเห็น ชะมด บ่าง ชะนี ลิงกัง เสือดาว แมวดำ หมาใน กระต่ายป่า กระรอกบิน ตะกวด เต่าปูลู งูชนิดต่างๆ รวมไปถึงไก่ป่า นกเงือก นกพญาไฟพันธุ์เหนือ นกปีกลายสก็อต นกกางเขนหัวขาวท้ายแดง นกศิวะปีกสีฟ้า และนกย้ายถิ่นหายาก เช่น

      นก กินปลีหางยาวคอสีดำ และนกอื่นมากมายกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแมลงมากมายหลายชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน กว่างห้าเขา ผีเสื้อใบไม้ใหญ่ ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อถุงทอง เป็นต้น
 

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยาน แห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร





      ด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว |

      ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526

      กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองขลุงและป่าคลองแม่วงก์ในท้อง ที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปางศิลาทอง) จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์–แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เลย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ และตำบลแม่เปิน กิ่งอำเภอแม่เปิน) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ



ลักษณะภูมิประเทศ      สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธง ชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญ เช่น แร่ไมก้า

ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
     สภาพป่าทั่วไปของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ จะอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งห้วยและภูเขาที่ไม่สูงนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก เสลา ชิงชัน กระบก กระพี้เขาควาย มะค่าโมง งิ้วป่า ประดู่ป่า กาสามปีก ติ้ว ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ไผ่รวก พืชพื้นล่าง เช่น หนามเค็ด ส้มเสี้ยว หนามคนฑา เป็นต้น

      ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่สลับกับป่าเบญจพรรณ พบในช่วงระดับความสูงตั้งแต่ 100-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะเกิ้ม ประดู่ มะม่วงป่า มะค่าแต้ พะยอม มะขามป้อม สมอไทย ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบ เช่น ไผ่เพ็ก และปรง เป็นต้น

      ป่าดิบเขา พบขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300-1,500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ก่อใบเลื่อม ก่อเดือย ก่อลิ้น ก่อแอบ ทะโล้ จำปาป่า กะเพราต้น หนอนขี้ควาย กำลังเสือโคร่ง ดำดง กล้วยฤาษี และมะนาวควาย เป็นต้น

      ป่าดิบแล้ง ประกอบด้วย ยางแดง ยางนา กระบาก ตะเคียนหิน ปออีเก้ง สมพง กัดลิ้น มะหาด พลอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและพืชพื้นล่างต่างๆ ที่ทนร่มอีกมากมายหลายชนิด เช่น เข็มขาว หนามคนฑา ว่าน พืชหัวต่างๆ อีกทั้งกล้วยไม้ต่างๆ อีกมากมาย

      ทุ่งหญ้า พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น

      เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีอาณาเขตติดต่อกับป่าของเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งสัตว์สามารถใช้เส้นทางเดินติดต่อกันได้ ได้แก่ สมเสร็จ เลียงผา กระทิง ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย หมีหมา ชะนีธรรมดา ค่างหงอก ลิงกัง อ้นเล็ก กระรอกบินเล็กแกมขาว ค้างคาวปากย่น ไก่ป่า เหยี่ยวรุ้ง นกแว่นสีเทา นกกก นกเงือกกรามช้าง นกปรอดเหลืองหัวจุก นกเขาใหญ่ นกกะเต็นอกขาว นกจาบคาเคราน้ำเงิน นกแซงแซวสีเทา เต่าหก เต่าเหลือง เหี้ย ตะกวด งูเห่า งูแมวเซา ฯลฯ
 

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า



อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร

     ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควรกำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม

     กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่าบริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็น อุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507 มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

     ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ




น้ำตกเต่าดำ






น้ำตกคลองวังเจ้า




น้ำตกคลองโป่ง



ลักษณะภูมิประเทศ  
      พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบริเวณเขตเทือกเขาภาคตะวันตกกับบริเวณขอบที่ราบภาค กลาง สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบอยู่ทางตอนกลางพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างกะทะขนาดเล็ก จำนวน 2 แอ่ง พื้นที่ 2,000-5,000 ไร่ แนวเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเย็น เขาสน เขาเต่าดำ เขาขนุน เขาขาแล้ง เขาอีโละโคะ เขาวังเจ้า เขาปั๋งใหญ่ ดอยลวก และเขาวุ๊งกะสัง เป็นต้น ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,898 เมตรโดยมียอดเขาเย็นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่สูงที่สุด พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองวังเจ้า ประกอบด้วย คลองแม่ยะมา คลองวังเจ้า คลองขุนหมาก คลองแขยง และลุ่มน้ำคลองสวนหมาก ประกอบด้วย คลองไพร คลองวุ๊งกะสัง คลองพลู คลองอีหมี คลองส้มโอ คลองปั๋งใหญ่ คลองสวนหมาก คลองเต่าดำ คลองผู้ใหญ่เลา คลองนายปู คลองขาแข้ง คลองจำปา คลองตะเนาะ และคลองปางขบ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

      อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,318 มิลลิเมตรต่อปี และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลาง เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง มีอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส และช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมมรสุมทั้งสอง อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า       อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่า 5 ชนิด ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุดประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ พบกระจายตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สัก รกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ปอตูบหูช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไผ่ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ เป็นต้น เป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของ กระทิง เก้ง กวางป่า เสือปลา หมูป่า สัตว์ฟันแทะต่างๆ ไก่ป่า เป็นต้น

      ป่าดิบเขา พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ตลอดแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ทะโล้ ฯลฯ พืชพื้นล่างค่อนข้างแน่นทึบ เช่น เฟิน ปอ กระวาน อ้อ แขม หวาย เป็นต้น มีสัตว์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ในบางฤดู เช่น กระทิง และยังมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระรอกบินจิ๋วท้องขาว นกพญาไฟใหญ่ นกพญาไฟเล็ก นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม เป็นต้น

     ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่บริเวณแนวหุบเขาตอนกลางของพื้นที่ ในระดับความสูงประมาณ 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดงแดง เติม สะบันงา กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดื่อ ตาว เต่าร้าง ค้อ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และหลบภัยของ กระทิง กวางป่า กระจงหนู เสือไฟ แมวดาว พญากระรอกท้องดำ นกกก นกเงือกกรามช้าง และนกตั้งล้อ เป็นต้น

     ป่าเต็งรัง พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ ทางด้านตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนก ก่อแพะ ส้านใหญ่ มะม่วงหัวแมงวัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบเป็นจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา หญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง ตะกวด เต่าเหลือง เป็นต้น

     ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวสันเขาและบนยอดเขาบริเวณตอนกลางตามแนวเหนือ-ใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สนสามใบ มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู เป็นต้น มีสัตว์ป่าเข้าไปใช้ประโยชน์บางฤดู เช่น เลียงผา หมูป่า ลิงกัง ชะมดแผงหางปล้อง เม่นเล็กหางพวง หนูฟานเหลือง เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำและลำคลองต่างๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกเงือกกรามช้าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกะเต็นหัวดำ นกเป็ดผีเล็ก เขียดว้าก กบหนอง กบห้วยขาปุ่ม อึ่งกรายห้วยเล็ก กบทูด อึ่งขาคำ จงโคร่ง อึ่งน้ำเต้า อึ่งอ่างก้นขีด คางคกแคระ เขียดจะนา ปลาจาด ปลาซิวควายแถบดำ ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน ปลาช่อน ปลาสลาด ปลากด เป็นต้น




วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติคลองลาน

ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอคลองลานและอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ครอบคลุมพื้นที่ป่าคลองลานอันสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายของจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของน้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิงและเป็นต้นน้ำตกคลองลานไหลลงสู่คลองขลุง เนื้อที่ประมาณ 187,500 ไร่ หรือ 300 ตารางกิโลเมตร


สืบเนื่องจากนายเทพ ไสยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0215/230 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2521 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการไปตรวจราชการที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2521 ว่า น้ำตกคลองลาน กิ่งอำเภอคลองลาน เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ขาดการดูแลรักษา และมีการลักลอบตัดไม้ไปใช้สอย หากปล่อยทิ้งไว้บริเวณป่าต้นน้ำลำธารก็จะถูกทำลายลงไป ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตของศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขา กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ ที่ กส 0808/1114 ลงวันที่ 14 เมษายน 2521 แจ้งให้ ป่าไม้เขตนครสวรรค์ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กส 0809(นว)/1596 ลงวันที่ 27 เมษายน 2521 ว่า ได้ทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลานไว้แล้ว เพื่อจะขออนุมัติกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพราะเห็นว่ามีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งน้ำตกคลองลานอยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขากำแพงเพชร กรมประชาสงเคราะห์ ป่าไม้เขตนครสวรรค์จึงได้ประสานงานกับจังหวัดกำแพงเพชรและกรมประชาสงเคราะห์ ขอใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกคลองลาน จำนวน 5,000 ไร่ ที่อยู่ในพื้นที่สงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดเป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ไม่ขัดข้อง จังหวัดกำแพงเพชรจึงมีหนังสือ ที่ มท 0714/13/13438 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2521 แจ้งให้กรมป่าไ
ม้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานเพื่อสงวนป่าต้นน้ำลำธารแห่งนี้

ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 192/2523 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2523 ให้ นายปรีชา จันทร์ศิริตานนท์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดพื้นที่บริเวณป่าคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพป่าทั้งไม้สักและไม้กระยาเลยสมบูรณ์มาก เป็นภูเขาสูงมีธรรมชาติสวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองลานในท้องที่ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลาน และตำบลคลองลานพัฒนา กิ่งอำเภอคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 191 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2525 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 44 ของประเทศ

      ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิง

      ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติ ในฤดูร้อนค่อนข้างร้อน ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนมีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม 17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี

      พืชพรรณและสัตว์ป่า
ป่าคลองลานยังมีสภาพสมบูรณ์เป็นแหล่งสุดท้ายในด้านทิศใต้ของภาคเหนือ ประกอบด้วยชนิดป่าต่างๆ คือ ป่าดิบแล้ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 500 เมตรขึ้นไป เช่น ขุนคลองลาน ขุนคลองสวนมาก ขุนคลองขลุง ขุนน้ำเย็น ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน สมพง ยมหอม พะยอม สมอพิเภก ฯลฯ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าประเภทนี้ได้แก่ ชะนีมือขาว ช้างป่า หนูหริ่งไม้หางพู่ ปาดลายพื้นเมืองเหนือ กบห้วยขาปุ่ม เต่าปูลู กิ้งก่าบินคอแดง
 ฯลฯ ป่าดิบชื้น จะพบอยู่ตามริมห้วยที่มีความชื้นสูง ป่าดิบเขา จะพบเป็นหย่อมๆ ป่าเบญจพรรณ สภาพป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดงดิบ ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ประดู่ ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทนี้ ได้แก่ กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง ตะกวด ฯลฯ และ ป่าเต็งรัง พบในระดับความสูงประมาณ 400-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง ยอป่า สมอพิเภก รกฟ้า และสมพง ฯลฯ สัตว์ป่าที่พบในป่าประเภทนี้ได้แก่ เขียดหลังปุ่มที่ราบ เขียดอ่อง อึ่งปากขวด เก้ง เป็นต้น

ในบริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ แต่ปัจจุบันทางราชการได้อพยพชาวเขาเหล่านี้มาอยู่พื้นที่ราบที่ทางราชการจัดสรรให้ สภาพพื้นที่จึงถูกปล่อยให้รกร้างและกลายสภาพเป็นป่ารุ่นสอง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กจำพวกกระแตธรรมดา ค้างคาวขอบหูขาว กระรอก หนูฟันขาว และหนูขนเสี้ยน ส่วนในบริเวณที่เป็นถ้ำ หลืบหิน และหน้าผา เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเฉพาะชนิด เช่น เลียงผา ค้างคาวปีกถุงเคราแดง ค้างคาวมงกุฎเล็ก ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ และค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ์ เป็นต้น พื้นที่บริเวณริมลำห้วย และลำคลองที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งที่หลบซ่อนหรือถิ่นอาศัยหากินของสัตว์หลายประเภท ได้แก่ กบทูด อึ่งกรายลายเลอะ ตะพาบธรรมดา ปลาสลาด ปลาเวียน และปลาติดดิน เป็นต้น